การตกแต่งด้วย กำมะหยี่ บนงานพิมพ์สกรีน
การตกแต่งงานพิมพ์สกรีน
การตกแต่งานพิมพ์สกรีน คือ การเพิ่มมูลค่าให้แก่งานพิมพ์โดยที่ต้นทุนเพิ่มไม่สูงมากนัก แต่มูลค่าจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว
การตกแต่งงานพิมพ์สกรีน สามารถทำได้หลายวิธี 1 ในนั้นคือ การตกแต่งด้วยกำมะหยี่
กำมะหยี่มีลักษณะดังรูป
กำมะหยี่ เป็นเส้นใยด้ายที่ผลิตมาจากเส้นใยเรย่อน และ ดึงดูดสายตาผู้คนมาก เวลาเอามาตกแต่งเสื้อจะดูสวยงาม การใช้กำมะหยี่ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับตัวเสื้อได้อย่างมาก
เมื่อเอามาตกแต่งจะมีลักษณะดังรูป
กำมหยี่ ที่ขายอยู่ในตลาดจะมี 2 ประเภท
- ขนกำมะหยี่
- แผ่นกำมะหยี่
ขนกำมะหยี่ : มีลักษณะเป็นขน โดยที่ผู้ใช้จะต้องพิมพ์กาวกำมะหยี่ลงไปก่อน แล้วผ่นกำมะหยี่ตามลงไปบนผ้า
แผ่นกำมะหยี่ : มีลักษณะเป็นแผ่นกำมะหยี่ พร้อมใช้งานโดยการใช้เครื่องรีดทับบนกาวกำมะหยี่ แล้ว ค่อยลอกแผ่นกระดาษทิ้งไป
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนตกแต่งด้วยกำมะหยี่
- ขนกำมะหยี่ / แผ่นกำมะหยี่
- ผ้าสกรีน
- ยางปาด
- กาวกำมะหยี่ / กาวพ่นขนกำมะหยี่
- เครื่องพ่นขนกำมะหยี่
- สารกันกำมะหยี่ติด
- เครื่องรีด / เครื่องอัด
กำมะหยี่ : กำมะหยี่สามารถจะเป็น ขนกำมะหยี่ หรือ แผ่นกำมะหยี่ ก็ได้
ผ้าสกรีน : ควรเตรียมผ้าสกรีน 80 – 100 เมชสำหรับการพิมพ์กาวกำมะหยี่ลงบนเสื้อ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การเลือกใช้ผ้าสกรีนได้ ที่นี่
ยางปาด : ควรเตรียมยางปาด รูปตัว ‘V’ ความแข็งอยู่ที่ 70 – 75 ชอร์ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การเลือกใช้ยางปาดได้ ที่นี่
กาวกำมะหยี่ : กาวกำมะหยี่ไว้ใช้สำหรับรองพื้นในส่วนที่กำมะหยี่จะติดลงไปบนเสื้อ การใช้กำมะหยี่ต้องพิมพ์กาวกำมะหยี่รองพื้นทุกครั้ง
กาวพ่นกำมะหยี่ : กาวพ่นกำมะหยี่ไว้ใช้สำหรับรองพื้นในส่วนที่จะผ่นขนกำมะหยี่ลงไปบนเสื้อ การใช้วิธีการพ่นขนกำมะหยี่ต้องพิมพ์กาวพ่นกำมะหยี่รองพื้นทุกครั้ง
เครื่องพ่นขนกำมะหยี่ : เป็นเครื่องที่ไว้ใช้สำหรับพ่นขนกำมะหยี่บนงานพิมพ์
สารกันกำมะหยี่ติด : ไม่จำเป็นต้องใช้เสมอไป หากผู้ใช้ต้องการรีดกำมะหยี่ทับบนสีสกรีนเสื้อ เช่น สียาง สีพลาสติซอล ผู้ใช้ก็ต้องใช้สารกันกำมะหยี่ติดเพื่อป้องกันไม่ให้กำมะหยี่ไปรีดทับบนสีสกรีนเสื้อที่สกรีนเรียบร้อยแล้ว
เครื่องรีด / เครื่องอัด : เครื่องรีด / เครื่องอัด เป็นเครื่องที่ใช้สำหรับ อัด/รีด กำมะหยี่เพื่อให้กำมะหยี่ติดแน่นกับเสื้อ มีลักษณะดังรูป
ขั้นตอนการตกแต่งด้วยกำมะหยี่ โดยใช้ แผ่นกำมะหยี่
พิมพ์กาวกำมะหยี่ : พิมพ์กาวกำมะหยี่ผ่านบล็อคสกรีนที่เตรียมไว้ โดยใช้ยางปาด และ ผ้าสกรีน ที่ระบุไว้ด้านบน
อบหมาด : การอบหมาด คือการทำให้ กาวกำมะหยี่แห้งแบบหมาด ในที่นี้สามารถทำได้หลายวิธี ใช้ไดร์เป่าร้อน ทำให้กาวกำมะหยี่ให้แห้งพอสัมผัสได้ เช่น การสัมผัสโดยใช้นิ้วแตะเบาๆบนกาวกำมะหยี่โดยที่เนื้อกาวกำมะหยี่ไม่ติดนิ้วขึ้นมา หรือ การปล่อยกาวกำมะหยี่ ให้แห้งด้วยตัวเอง เวลาที่ใช้ขึ้นอยู๋กับ อณุภูมิของห้อง เพราะฉะนั้นผู้พิมพ์ควรเช็คด้วยตัวเองว่า เวลาที่ใช้นั้นควรอยู่ที่เท่าไหร่
วางแผ่นกำมะหยี่บนงานพิมพ์ : ตัดแผ่นกำมะหยี่ให้มีขนาดใกล้เคียงกับลายพิมพ์, แผ่นกำมะหยี่มี 2 ด้าน นำด้านที่มีสีลงไปอยู่ข้างล่าง แล้ว นำด้านที่เป็นลักษณะกระดาษคล้ายด้านบนขึ้นมา
นำไปอัดเครื่องรีดร้อน : ใช้เครื่องรีดร้อนอัดแผ่นกำมะหยี่ให้เข้ากับเสื้อ นะยะเวลาที่ใช้อยู่ที่ประมาณ 4-9 วินาที ความร้อน 140 – 190 องศา ขึ้นอยู่กับความร้อนของเครื่อง รอ 20-30 วินาทีหลังจากรีดร้อน เพื่อให้กำมะหยี่ติดกับเสื้อ หลังจากนั้น ค่อยดึงแผ่นกำมะหยี่ออกอย่างช้าๆ
ขั้นตอนการตกแต่งด้วยกำมะหยี่โดยใช้ ขนกำมะหยี่
พิมพ์กาวพ่นกำมะหยี่ : พิมพ์กาวพ่นกำมะหยี่ผ่านบล็อคสกรีนที่เตรียมไว้ โดยใช้ยางปาด และ ผ้าสกรีน ที่ระบุไว้ด้านบน
ใช้เครื่องผ่นขนกำมะหยี่บนงานพิมพ์ : พ่นขนกำมะหยี่บนลายพิมพ์ โดยใช้เครื่องพ่นขนกำมะหยี่
ใช้เครื่องดูดขนกำมะหยี่ : เมื่อขนกำมะหยี่ติดอยู่บนลายแล้ว ใช้เครื่องดูดขนกำมะหยี่ที่อยู่นอกลายออก
นำงานพิมพ์ไปอบแห้ง : นำงานพิมพ์ไปอบด้วยเครื่องอบสายพานเลื่อน โดยใช้ความร้อน 140-180 องศา ด้วยความเร็ว ปานกลาง
ข้อแตกต่างระหว่าง แผ่นกันมะหยี่ และ ขนกำมะหยี่
ขนกำมะหยี่ จะให้ความสัมพัสที่นุ่มน่าสัมผัส
แผ่นกำมะหยี่ จะให้ความสัมผัสที่แข็งกว่า เนื่องจากโดนอัดด้วยเครื่องรีดร้อน