ข้ามไปยังเนื้อหา
กาวถ่ายบล็อคแต่ละสี มีความแตกต่างอย่างไร และ วิธีการใช้งานที่ถูกต้อง

กาวถ่ายบล็อคแต่ละสี มีความแตกต่างอย่างไร และ วิธีการใช้งานที่ถูกต้อง

กาวถ่ายบล็อคคืออะไร ?

กาวถ่ายบล็อคไว้นั้นไว้ใช้ในขั้นตอนที่จะทำแม่พิมพ์บนผ้าสกรีน เป็นการทำบล็อค หรือ ลายสกรีนโดยการฉาบกาวถ่ายบล็อคสกรีนที่ผสมน้ำยาไวแสงเรียบร้อยแล้วนำไปฉายแสง ดังรูป

การฉาบกาวถ่ายบล็อคควรทำในที่มืด

หลังจากที่ปาดกาวถ่ายบล็อคเสร็จ แล้วทำให้แห้งแล้วจึงนำลายที่เตรียมไว้มาถ่ายกับตู้ไฟ เหมือนดังรูป

นำบล็อคที่พร้อมถ่ายไปถ่ายกับตู้ไฟ

หลังจากที่ถ่ายกับตู้ไฟเสร็จให้นำน้ำไปฉีดบล็อค กาวถ่ายบล็อึจะหลุดออกตามลาย แล้วเราก็จะได้ไม่พิมพ์ที่เราต้องการ ดังรูป

การนำบล็อคที่ถ่ายเสร็จแล้วไปฉีดด้วยน้ำแรงดันสูงทำให้ได้ลวดลายตามทีต้องการ

สรุปแล้วการถ่ายบล็อคจะมี 3 ขั้นตอนใหญ่ๆคือ

  • ฉาบกาวถ่ายบล็อคบนผ้าสกรีน
  • นำลายที่เตรียมไว้ไปถ่ายกับตู้ไฟ
  • นำบล็อคไปฉีดเพื่อให้กาวถ่ายบล็อคลอกออกตามลายสกรีนที่ต้องการ

กาวถ่ายบล็อคแต่ละสีมีความแตกต่างอย่างไร ?

กาวถ่ายบล็อคที่มีจำหน่ายและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมีอยู่ 3 สี

กาวถ่ายบล็อคสีน้ำเงิน

สีน้ำเงินเเหมาะใช้สำหรับงานพิมพ์สกรีนสีเชื้อน้ำ เช่น สียาง สีลอย

กาวถ่ายบล็อคสีม่วง

สีม่วงเหมาะใช้สำหรับงานพิมพ์ที่สกรีนสีเชื้อน้ำ และ สีพลาสติซอล เหมาะกับงานที่มีลายละเอียดสูง เช่น งานเม็ด

กาวถ่ายบล็อคสีแดง

สีแดงจะสามารถใช้ได้ในงานทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นลายธรรมดา หรือ ลายที่มีความละเอียดสูง แต่จะมีราคาแพงกว่า กาวถ่ายบล็อค สีน้ำเงิน และ สีม่วง

รายละเอียดขั้นตอนต่างๆในการถ่ายบล็อคมีดังนี้

1. การฉาบกาวถ่ายบล็อคบนผ้าสกรีน

ก่อนที่จำกาวถ่ายบล็อคมาฉาบบนผ้าสกรีน เราจะต้องทำให้การให้แน่ใจว่าผ้าสกรีนนั้นสะอาดเพียงพอต่อการฉาบ ไม่มีอะไรอุดตันอยู่ในผ้าสกรีน

หากผ้าสกรีนสะอาดไม่เพียงพอ อาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆได้ เช่น กาวถ่ายบล็อคหลุด มีตามดเกิดขึ้นตามกาวถ่ายบล็อค

1.1 วิธีทำความสะอาดผ้าสกรีน

การทำความสะอาดผ้าสกรีนทำได้โดยง่ายๆ คือ การใช้น้ำยาล้างไขผ้าสกรีน ให้ลูบใช้ทั้ง 2 ด้านของผ้าสกรีน หลังจากนั้นให้ฉีดน้ำล้างออกแล้วนำไปตากให้แห้ง แล้วใช้เครื่องเป่า / เครื่องอบก็ได้

1.2 การผสมกาวถ่ายบล็อค

  • อุปกรณ์ที่ควรเตรียมให้พร้อมมีดังต่อไปนี้
  • กาวถ่ายบล็อค
  • น้ำยาไวแสง (ที่มีให้มาพร้อมกาวถ่ายบล็อค)
  • รางปาดกาวตามขนาดของบล็อค
  • เครื่องวัดน้ำหนัก
  • ภาชนะผสมกาวถ่ายบล็อค
  • ไม่สำหรับคนกาวถ่ายบล็อค

1.3 วิธีผสมกาวอัดถ่่ายบล็อค

กาวถ่ายบล็อคแต่ละยี่ห้อมีวิธีการผสมที่แตกต่างกันไป

กาวถ่ายบล็อคนั้นต้องผสมกับน้ำยาไวแสงก่อนที่จะฉาบบนลงผ้าสกรีน

อัตราสัดส่วนในการผสมนั้นคือ

กาวถ่ายบล็อค 5 ส่วน ต่อ ไวแสง 1 ส่วน
เช่น กาวถ่ายบล็อค 500 กรัม ผสม ด้วยไว แสง 100 กรัม หรือ กาวถ่ายบล็อค 1000 กรัม ผสม ด้วยไวแสง 200 กรัม

หรือ

กาวถ่ายบล็อค 10 ส่วน ต่อ ไวแสง 1 ส่วน
เช่น กาวถ่ายบล็อค 1000 กรัม ผสม ด้วยไว แสง 100 กรัม
กาวถ่ายบล็อคบางชนิดเช่น กาวถ่ายบล็อคสีแดง ไม่จำเป็นต้องผสมกับไวแสงเลย (ผสมมาให้อยู่แล้ว)

**สามารถอ่านวิธีการผสมเพิ่มเติมได้หน้าฉลากสินค้า**

1.4 คำแนะนำในการผสมกาวถ่ายบล็อค กับ น้ำยาไวแสง

ตอนที่ผสมกาวถ่ายบล็อคกับน้ำยาไวแสงนั้น ควรผสมในที่ ที่ห้องมืด หรือ ห้องที่ไม่มีแสงสีขาว เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ไฟสีขาวเกิด ปฏิกิริยา กับกาวถ่ายบล็อคที่ทำการผสมอยู่
“ฟองอากาศ” อาจจะเกิดขึ้นได้หลังจากผสมเสร็๗ รอให้ ฟองอากาศหายไปให้หมดก่อนจึงสามารถนำไปฉาบบนผ้าสกรีนได้

1.5 การปาดกาวถ่ายบล็อค

นำกรอบบล็อกสกรีนที่ขึงแล้วทำความสะอาด และตากแห้งสนิทดีแล้ว มาเตรียมทำการปาดกาวโดยการวางกรอบให้เอียงประมาณ60องศาและใช้รางปาดกาวที่มีขนาดเล็กกว่ากรอบบล็อกสกรีนด้านในประมาณครึ่งนิ้วเทกาวอัดบล็อกลงในรางปาดกาวประมาณครึ่งหนึ่งของรางปาด แล้วเริ่มปาดจากด้านล่างไปหาด้านบน ควรจับรางปาดกาวแล้วกดน้ำหนักลงบนผ้าให้สมดุลตลอดแนว ควรปาดกาวอัดด้านนอก2ครั้ง แล้วหันกลับปาดด้านใน1ครั้งจากนั้นนำไปตากให้แห้ง

**การปาดกาวอัดบล็อกแต่ละครั้ง จะปาดกาวอัดบล็อกกี่ครั้งก็ตาม ต้องรอให้การอัดบล็อกที่ปาดอยู่แล้วนั้นแห้งสนิทก่อนจึงจะปาดซ้ำได้**

1.6 การอบบล็อคสกรีนให้แห้ง

เมื่อฉาบกาวถ่ายบล็อคบนผ้าสกรีนเรียบร้อยแล้วก็ต้องทำให้กาวที่ฉาบนั้นแห้งเสียก่อน ก่อนที่จะนำไปถ่ายกับตู้ไฟ

การทำให้แห้งนั้นมี 3 วิธี

  • ตากแห้ง
  • ใช้ตู้อบ
  • ใช้ไดร์เป่า

ตากแห้ง : สามารถปล่อยบล็อคสกรีนให้แห้งเองได้ แต่ควรระวังไม่ให้มาติดกับกาวถ่ายบล็อค

การใช้ตู้อบ : ควรใช้ไฟไม่เกิน 40 องศา ระยะเวลา 10-20 วินาที ในการทำให้กาวถ่ายบล็อคแห้ง

การใช้ไดร์เป่า : สามารถใช้ไดร์เป่าลมร้อน หรือ ลมเย็นก็ได้ แต่ควรระวังไม่ให้มาติดกับกาวถ่ายบล็อค

ทั้ง 3 วิธี ควรวางบล็อคสกรีนในแนวนอน งานด้านในขึ้นบน และ หาวัตถุมาหนุน กรอบทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้กาวที่ฉาบไว้ไหลไปอยู่ส่วนด้านนอก ทำให้กาวที่ฉาบไว้เมื่อแห้งจะหนาขึ้น

2.นำลายที่เตรียมไว้ไปถ่ายกับตู้ไฟ

2.1 การวางลายพิมพ์บนบล็อค

ควรวางลายพิมพ์สกรีนให้ห่างจากขอบบล็อค 2-2.5 นิ้ว สำหรับด้านข้าง 3-4 นิ้วสำหรับด้านบนและล่าง

ทำไมขอบด้านข้างถึงเป็น 3-4 นิ้ว ?

เพราะมีที่เว้นไว้เพื่อพักสี

หากวางชิดขอบบล็อคมากเกินไปจะทำให้ลายพิมพ์บิดเบี้ยวเพี้ยนได้

2.2 ขั้นตอนการถ่ายบล็อค

  • ทำความสะอาดหน้ากระจกเครื่องถ่ายบล็อคเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นไปติดกับกาวถ่ายบล็อค
  • ติดหลักบังคับ 2 หลักไปบนหน้ากระจก เพื่อที่จะให้บล็อคที่มีบังคับบล็อคสอดใส่ได้พอดี
  • นำฟิลม์ที่เตรียมไว้วางบนบนหน้ากระจกแล้วติดเทปใส เพื่อป้องกันการฟิลม์เคลื่อนที่ 
  • นำบล็อคที่เตรียวไว้มาวางหงายบนฟิลม์ โดยให้ตำแหน่งของฟิลม์อยู่กลางบล็อค
  • ปิดฝาเครื่องถ่ายบล็อค และ เปิดสวิทช์ลมดูด ให้บล็อคแนบกับกับฟิล์ม
  • ตั้งเวลาการถ่ายบล็อกตามชนิดของกาวและปัจจัยต่างๆตาม 2.3
  • ทำซ้ำจนครบทุกบล็อค

2.3 ปัจจัยต่างๆที่มีต่อเวลาที่ใช้ในการถ่ายบล็อค

หลังจากที่กาวถ่ายบล็อคที่แห้งแล้วเราก็สามารถนำลายมาถ่ายบล็อคได้

“เวลา” ที่ใช้ในการถ่ายบล็อคจะขึ้นอยู่กับ 6 ปัจจัย ดังนี้

  • อณุภูมิห้อง
  • ความชื้น
  • ผ้าสกรีน
  • ความหนาของกาวที่ฉาบ
  • ระยะห่างของตู้ไฟกับกรอบบล็อค
  • กำลังวัตถ์ของหลอดไฟ

อณุภูมิห้อง : หากอณุภูมิห้องสูงเวลาที่ใช้ในการถ่ายจะลดลง เช่นในหน้าร้อน อาจจะต้องใช้เวลาถ่ายน้อยกว่าปกติ

ความชื้น : หากมีความชึ้นสูงเวลาที่ใช้ในการถ่ายจะเพิ่มขึ้น เช่นในช่วงหน้าฝน อาจจะต้องใช้เวลาถ่ายมากกว่าปกติ

ผ้าสกรีน : หากผ้าสกรีนความรายละเอียดสูงเวลาที่ใช้ถ่ายจะลดลง เช่น ผ้านสกรีนเบอร์ 200 จะใช้เวลาถ่ายน้อยกว่า ผ้าสกรีน 120

ความหนาของกาวที่ฉาบ : หากกาวที่ฉาบไว้มีหลายชั้นเวลาที่ใช้ในการถ่ายก็จะเพิ่มขึ้น

ระยะห่างของตู้ไฟกับกรอบบล็อค : หากระยะห่างระหว่างกรอบบล็อคและหลอดไฟห่างก็เวลาที่ใช้ในการถ่ายจะเพิ่มขึ้น

กำลังวัตถ์ของหลอดไฟ : หากกำลังวัตถ์ของหลอดไฟสูงเวลที่ใช้ในการถ่ายก็ต้องลดลง

2.4 ปัจจัยต่างๆที่มีความคมของลายในการถ่ายบล็อค

  • แหล่งกำเกิดเนิดของแสง
  • ตู้ถ่ายบล็อค

แหล่งกำเกิดเนิดของแสง : 

หลอดที่มีแหล่งกำเนิดแสงหลายจุด ได้แก่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ เนื่องจากหลอดประเภทนี้มีกำลังไฟต่ำ ทำให้ต้องการใช้หลายหลอดในตู้ถ่ายบล็อค หากมีหลายหลอดจะทำให้การกำหนิดแสงที่ไม่เป็นระเบียบ แสงจะสามารถส่องเป็นลักษณะ “เฉียง”เข้าไปได้ในฟิลม์ดำที่บังอยู่ ทำให้ลายพิมพ์ไม่คมชัด

หลอดที่มีแหล่งกำเนิดแสงจุดเดียว ได้แก่ เมททัลฮาร์ไลด์ เนื่องจากหลอดประเภทนี้มีกำลังไฟสูง ทำให้ต้องการใช้หลอดเพียงแค่หลอดเดียวในตู้ถ่ายบล็อค หากมีหลอดเดียวจะทำให้การกำหนิดแสงเป็นระเบียบ แสงจะสามารถส่องเป็นลักษณะ “ตรง”เข้าไปได้ในฟิลม์ดำที่บังอยู่ ทำให้ลายพิมพ์คมชัด

ตู้ถ่ายบล็อค : 

ตู้ถ่ายบล็อคที่ไม่มีลมดูด : การที่ตู้ถ่ายบล็อคนั้นไม่มีลมดูด จะทำให้แสงที่ออกมาจากหลอดไฟหักแหได้ จะทำให้ลายพิมพ์ไม่คมชัด

ตู้ถ่ายบล็อคที่ที่มีลมดูด : การที่ตู้ถ่ายบล็อคนั้นที่มีลมดูด จะทำให้แสงที่ออกมาจากหลอดไฟไม่สามรถหักแหได้ จะทำให้ลายพิมพ์คมชัด

3. นำบล็อคไปฉีดเพื่อให้กาวถ่ายบล็อคลอกออกตามลายสกรีนที่ต้องการ

หลังจากที่ถ่ายบล็อคเสร็จ

นำบล็อคไปฉีดน้ำล้างลายเพื่อให้ได้ลายสกรีนที่ต้องการ และ ทำการเคลือบบล็อค ด้วย น้ำยาเคลือบบล็อค แล้วตากให้แห้งจึงนำไปใช้งานได้

น้ำยาเคลือบล็อค จะทำให้ บล็อคสกรีนมีความคงทนขึ้น จะทำให้ลายสกรีน คมชัดอยู่ได้นานขึ้น

การล้างกาวถ่ายบล็อคออก

หลังจากที่ต้องการทำลายใหม่เราสามารถนำบล็อคเดิม(ที่มีการถ่ายบล็อคไว้แล้ว) นำกลับมาใช้ใหม่ได้

การล้างกาวถ่ายบล็อคสามารถทำได้ 3 วิธี

  • ล้างโดยใช้คลอรีน 65
  • ล้างโดยน้ำยาล้างกาวถ่ายบล็อค
  • ล้างโดยน้ำที่มีความแรงดันสูงกว่าแรงดันปกติ

ล้างโดยใช้คลอรีน 65 :

นำบล็อกสกรีนมาฉีดน้ำให้เปียก แล้วใช้ผงคลอรีนโรยให้ทั่วผ้าสกรีนทิ้งไว้สักครู่ ใช้แปรงขนนุ่มหรือผ้าถูให้ทั่วบล็อกจนกระทั่งกาวอัดหลุดออกหมดจึงนำเอาน้ำฉีดให้สะอาดอีกครั้ง

ล้างโดยน้ำยาล้างกาวถ่ายบล็อค : 

นำบล็อกสกรีนมาฉีดน้ำให้เปียก แล้วใช้น้ำยางล้างกาวถ่ายบล็อคชโลมให้ทั่วบล็อคสกรีน แล้วเอาน้ำฉีดเพื่อที่ทำให้กาวถ่ายบล็อคหลุดออกไป

ล้างโดยน้ำที่มีความแรงดันสูงกว่าแรงดันปกติ :

โดยปกติแล้วกาวถ่ายบล็อคทั่วไปจะมีค่าที่ทนกับแรงดันน้ำของน้ำได้อยู๋ ให้ผู้ใช้ลองปรับแรงดันน้ำตามความเหมาะสม เพื่อที่จะทำให้กาวถ่ายบล็อคหลุดออก

หลังจากที่ล้างเสร็จเช็คดูให้แน่ใจว่าไม่มีคราบกาวถ่ายบล็อคหลงเหลืออยู่หรือไม่

เกิดอะไรขึ้นหากใช้เวลาถ่ายมากกว่า / น้อยกว่าปกติ ?

หากใช้เวลาถ่ายมากกว่าปกติ : กาวถ่ายจะติดแน่นบนผ้าสกรีนททันให้ล้างออกไม่ได้ หรือ ทำให้ล้างออกได้ยากมาก

หากใช้เวลาถ่ายน้อยกว่าปกติ : ลายจะไม่คม, ลายสกรีน หรือ กาวถ่ายบล็อคจะหลุดลอกได้ง่ายเมื่อล้าง

บทความก่อนหน้า ขั้นตอนการเตรียมบล็อคสกรีนที่ถูกต้อง: เทคนิคการใช้กาวถ่ายบล็อคและเรื่องของเวลา
บทความถัดไป ผ้ามีกี่ชนิด ? ผ้าแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ?